คุณสามารถรับ Infographic ดีๆ ฟรี ส่งตรงถึง อีเมลคุณ

เช็คตัวคุณ กับไวรัสเมอร์ส

Published by Infographic Thailand

info-mers4-01

             ไม่ธรรมดาซะแล้ว เพราะล่าสุด พบผู้ติดเชื่อที่ประเทศไทย 1 ราย แม้ว่าจะอยู่ในความดูแลของแพทย์ ซึ่งควบคุมการแพร่กระจายได้ทันท่วงที และสนามบินสุวรรณภูมิเองก็คุมเข้มสั่งเพิ่มมาตรการเฝ้าระวัง ‘เมอร์ส’ แต่ก็ใช่ว่าเราจะไม่โชคร้าย มีโอกาสเจอแจ๊คพ็อตเข้าให้ ฉะนั้นหากสงสัย มีอาการแปลกๆ หรือกลับมาจากกลุ่มประเทศเสี่ยง ควรรีบไปพบแพทย์ เพื่อความสบายดีกว่า

             ไวรัสเมอร์ส มีชื่อเรียกว่า โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา หรือมีอีกชื่อเต็มๆ ว่า กลุ่มอาการระบบทางเดินหายใจเฉียบพลันในประเทศตะวันออกกลาง (Middle Easr respiratory sysdrome coronavirus (MERS-CoV)) เป็นโรคระบบทางเดินหายใจชนิดหนึ่งเกิดจากเชื้อโคโรน่าไวรัสสายพันธุ์ใหม่ (MERS-CoV) ซึ่งโคโรนาไวรัสก่อให้เกิดโรคได้หลายโรคตั้งแต่หวัดธรรมดาไปจนถึงโรคซาร์ส

             ผู้ที่ติดเชื้อไวรัสเมอร์สจะมีอาการคล้ายเป็นโรคระบบทางเดินหายใจมีไข้สูงไอ หายใจหอบ หายใจขัด ถ่ายเหลว โดยเชื้อจะอยู่ในละอองน้ำมูกน้ำลายผู้ป่วย ติดต่อได้ง่ายจากการไอจาม ยิ่งผู้ที่ป่วยเป็นโรคประจำตัว ได้แก่เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคไต ยิ่งเสี่ยงตายมาก ต้องรีบไปหาหมอให้เร็วที่สุด

             ปัจจุบันยังไม่มียาตัวใดสามารถต้านไวรัสตัวนี้ได้ ทำได้เพียงรักษาตามอาการเท่านั้น วิธีป้องการที่ดีที่สุดก็คือ ควรล้างมือบ่อย ๆ ด้วยน้ำสะอาดและสบู่ ทั้งก่อนรับประทานอาหารและหลังขับถ่าย รวมถึงหลีกเลี่ยงการไปในที่แออัด หากจำเป็นก็ควรสวมหน้ากากอนามัยทุกครั้ง และเลือกใช้ช้อนกลางในการรับประทานอาหารร่วมกับผู้อื่น ที่สำคัญที่สุดก็คือ ควรหลีกเลี่ยงการเดินทางไปยังพื้นที่เสียงในประเทศที่มีการระบาดของเชื้อ หากไปและสงสัยว่าตัวเองจะติดเชื้อละก็ ต้องมาพบแพทย์พร้อมแจ้งเจ้าหน้าที่ไว้ก่อน ได้แก่ ประเทศอุดีอาระเบีย การ์ตา จอร์แดน สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ อังกฤษ ฝรั่งเศส ตูนิเซีย เยอรมนี อิตาลี โอมาน คูเวต มาเลเซีย กรีซ ฟิลิปปินส์ สหรัฐอเมริกา จีน และเกาหลีใต้

6 วิธีป้องกันตัวเองเมื่อต้องเดินทางไปประเทศเสี่ยง

  1. ตรวจสอบประหวัดการฉีดวัคซีนของตัวเอง ว่าครบไหม ฉีดอะไรไปบ้าง และต้องฉีดอะไรเพิ่ม
  2. งดการสัมผัสอูฐและดื่มนมอูฐดิบ เพราะอาจมีเชื่อเจือปนอยู่
  3. ใส่หน้ากากอนามัยป้องกันไว้ก่อน
  4. เลี่ยงสถานที่แออัดที่มีคนจำนวนมาก เพราะเสี่ยงต่อการได้รับเชื้อมาก
  5. ล้างมือบ่อยๆ ด้วยสบู่หรือแอลกอฮอล์
  6. ไม่สัมผัสหรือใก้ชิดผู้ป่วยที่สงสัยว่าจะเป็นโรคนี้
Shared on 31 JUl 2014 in

ส่งต่อความรู้ดีๆ

LINE it!

Tags